วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1.ข้อใดหมายถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ขั้นทุตยภูมิ
ก. บทความทางด้านประวัติศาสตร์                     
ข. ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
ค. โบสถ์  วิหาร 
ง. หลุมฝังศพ

2. จารึกวัดศรีชุม เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทใด
ก.  หลักฐานขั้นทุติยภูมิ                                     
ข.  หลักฐานขั้นปฐมภูมิ
ค.  หลักฐานด้านโบราณสถาน      
ง.  หลักฐานด้านโบราณวัตถุ

 3.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิ มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร
ก.  ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงโดยไม่กลั่นกรอง
ข.  ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และสามารถเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันได้ 
ค.  เป็นหลักฐานที่บันทึกโดยผู้ที่มีอำนาจ
ง.  เป็นหลักฐานที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้

4. ข้อใดไม่ใช่การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ก. มีความเป็นกลาง
ข. ความระมัดระวังในการกลั่นกรองหลักฐาน
ค. จุดมุ่งหมายในการบันทึก
ง.  ตรวจสอบวิธีการนำเสนอผลงานของผู้เขียน

5. การจะยอมรับในเหตุการณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพว่ามีอยู่จริงหรือไม่ต้องได้รับการยืนยันจากหลักฐานสำคัญชนิดใด
ก.  หนังสือพิมพิ์
ข. บทความทางประวัติศาสตร์
ค. วรรณคดี
ง.  พระราชพงศาวดาร

6. หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรทำให้นักเรียนสามารถสะท้อนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
ก.  ทำให้ทราบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในยุคต่างๆ
ข.  ทำให้ทราบว่าหลักฐานมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
ค.  ทำให้รู้จักการตีความทางประวัติศาสตร์
ง.   ทำให้ทราบว่าผู้บันทึกนั้นมีความเป็นกลางหรือไม่

7. บุคคลใดที่มีความเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเครื่องทองที่ขุดพบในวัดราชบูรณะน้อยที่สุด
ก.  นักประวัติศาสตร์
ข.  นักโบราณคดี
ค.  นักสังคมสงเคราะห์
ง. นักประวัติศาสตร์ศิลป์

8.  การวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ควรใช้หลักฐานอย่างไรจึงจะได้ข้อเท็จจริงมากที่สุด
ก.  หลักฐานที่บันทึกโดยผู้มีอำนาจ
ข.  หลักฐานที่บันทึกโดยมีอคติของผู้บันทึก
ค.  หลักฐานที่น่าเชื่อถือและผ่านการกลั่นกรองข้อมูล
ง.  หลักฐานที่บันทึกโดยชาวต่างชาติ

9.  ถ้านักเรียนต้องการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ไทยกับสเปนในสมัยอยุธยา นักเรียนจะสามารถศึกษาเรื่องราวในช่องสมัยอยุธยาได้อย่างไร เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์
ก.  การวิเคราะห์และประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ข.  การวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ค.  การวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ง.   การวิเคราะห์ข้อเท็จจริงหลักฐานทางประวัติศาสตร์

10. ข้อใดไม่ใช่ข้อจำกัดของข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในบางยุคสมัย
ก. เอกสารสูญหาย ถูกทำลาย
ข. เป็นความลับหรือความคิดเห็นที่ไม่มีการเปิดเผย
ค.  ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ง.  ขยายขอบเขตความรู้ที่มีอยู่เดิมให้กว้างขวางออกไป



















































































































































































































































































































































































































































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น