วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1.ข้อใดหมายถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ขั้นทุตยภูมิ
ก. บทความทางด้านประวัติศาสตร์                     
ข. ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
ค. โบสถ์  วิหาร 
ง. หลุมฝังศพ

2. จารึกวัดศรีชุม เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทใด
ก.  หลักฐานขั้นทุติยภูมิ                                     
ข.  หลักฐานขั้นปฐมภูมิ
ค.  หลักฐานด้านโบราณสถาน      
ง.  หลักฐานด้านโบราณวัตถุ

 3.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิ มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร
ก.  ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงโดยไม่กลั่นกรอง
ข.  ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และสามารถเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันได้ 
ค.  เป็นหลักฐานที่บันทึกโดยผู้ที่มีอำนาจ
ง.  เป็นหลักฐานที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้

4. ข้อใดไม่ใช่การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ก. มีความเป็นกลาง
ข. ความระมัดระวังในการกลั่นกรองหลักฐาน
ค. จุดมุ่งหมายในการบันทึก
ง.  ตรวจสอบวิธีการนำเสนอผลงานของผู้เขียน

5. การจะยอมรับในเหตุการณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพว่ามีอยู่จริงหรือไม่ต้องได้รับการยืนยันจากหลักฐานสำคัญชนิดใด
ก.  หนังสือพิมพิ์
ข. บทความทางประวัติศาสตร์
ค. วรรณคดี
ง.  พระราชพงศาวดาร

6. หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรทำให้นักเรียนสามารถสะท้อนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
ก.  ทำให้ทราบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในยุคต่างๆ
ข.  ทำให้ทราบว่าหลักฐานมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
ค.  ทำให้รู้จักการตีความทางประวัติศาสตร์
ง.   ทำให้ทราบว่าผู้บันทึกนั้นมีความเป็นกลางหรือไม่

7. บุคคลใดที่มีความเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเครื่องทองที่ขุดพบในวัดราชบูรณะน้อยที่สุด
ก.  นักประวัติศาสตร์
ข.  นักโบราณคดี
ค.  นักสังคมสงเคราะห์
ง. นักประวัติศาสตร์ศิลป์

8.  การวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ควรใช้หลักฐานอย่างไรจึงจะได้ข้อเท็จจริงมากที่สุด
ก.  หลักฐานที่บันทึกโดยผู้มีอำนาจ
ข.  หลักฐานที่บันทึกโดยมีอคติของผู้บันทึก
ค.  หลักฐานที่น่าเชื่อถือและผ่านการกลั่นกรองข้อมูล
ง.  หลักฐานที่บันทึกโดยชาวต่างชาติ

9.  ถ้านักเรียนต้องการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ไทยกับสเปนในสมัยอยุธยา นักเรียนจะสามารถศึกษาเรื่องราวในช่องสมัยอยุธยาได้อย่างไร เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์
ก.  การวิเคราะห์และประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ข.  การวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ค.  การวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ง.   การวิเคราะห์ข้อเท็จจริงหลักฐานทางประวัติศาสตร์

10. ข้อใดไม่ใช่ข้อจำกัดของข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในบางยุคสมัย
ก. เอกสารสูญหาย ถูกทำลาย
ข. เป็นความลับหรือความคิดเห็นที่ไม่มีการเปิดเผย
ค.  ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ง.  ขยายขอบเขตความรู้ที่มีอยู่เดิมให้กว้างขวางออกไป



















































































































































































































































































































































































































































































































































































































































วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

หน่วยที่ 1 การแบ่งยุคและวิธีการทางประวัติศาสตร์

                 หน่วยที่ 1 การแบ่งยุคและวิธีการทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.   หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ ในรูปของการจารึกในศิลาจารึก และการจารึกบนแผ่นโลหะ
และที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทอื่น เช่น พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน และกฎหมาย
2.      หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่
- โบราณสถาน ประกอบด้วย วัด เจดีย์ มณฑป
- โบราณวัตถุ ประกอบด้วย พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก
     แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การแบ่งลำดับความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1.         หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง  ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น  จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด   เช่น  จดมายเหตุ คำสัมภาษณ์  เอกสารทางราชการ  บันทึกความทรงจำ  กฎหมาย  หนังสือพิมพ์  ภาพยนตร์  สไลด์  วีดิทัศน์       แถบบันทึกเสียง โบราณสถาน  แหล่งโบราณคดี  โบราณวัตถุ
2.         หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง  ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตำนาน บันทึกคำบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ  สำหรับหลักฐานชั้นรองนั้นมีข้อดี   คือ  มีความสะดวกและง่ายในการศึกษาทำความเข้าใจ  เนื่องจากเป็นข้อมูลได้ผ่านการศึกษาค้นคว้า  ตรวจสอบข้อมูล  วิเคราะห์เหตุการณ์และอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ  โดยนักประวัติศาสตร์มาแล้ว
ลักษณะสำคัญของหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีอยู่หลายลักษณะ อาจแบ่งลักษณะสำคัญของหลักฐานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่
1.1 โบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ขนาดต่างๆกัน อยู่ติดกับ
พื้นดินไม่อาจนำเคลื่อนที่ไปได้ เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัง วัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในวัด และวัง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และที่อยู่อาศัย
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณสถาน จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้งของโบราณสถานนั้นๆ

                                     ปราสาทหินพิมาย                                                  ปราสาทหินพนมรุ้ง
ที่มาภาพ  http://www.thaigoodview.com/files/u1300/pimai.jpg      ที่มาภาพ : http://www.kodhit.comimages/stories/travel/
norteast/phasadkhow/12.jpg
1.2 โบราณวัตถุ หมายถึง สิ่งของโบราณที่มีลักษณะต่างๆกัน สามารถนำติดตัว
เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นๆ จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือเป็น  ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน และสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆซึ่งจะเก็บรวบรวมไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เครื่องปั้นดินเผาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง                    หม้อบ้านเชียง
ที่มาภาพ : http://www.thaitourzone.com/eastnorth/udon/museum.JPG       ที่มาภาพ : http://gaprobot.spaces.live.com/
blog/cns!EDF1593B634FDF0!319.entry
2. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
 2.1 จารึก ในแง่ของภาษาแล้วมีคำอยู่ 2 คำที่คล้ายคลึงและเกี่ยวกับข้องกัน คือ
คำว่า จาร และจารึก
คำว่า จาร แปลว่า เขียนอักษรด้วยเหล็กแหลมลงบนใบลาน
คำว่า จารึก แปลว่า เขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นศิลาหรือโลหะ
                ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คำว่า จารึก หมายรวมถึง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึก ถ้าเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ถ้าเขียนลงบนวัสดุอื่นๆ เช่น แผ่นอิฐ เรียกว่า จารึกบนแผ่นอิฐ แผ่นดีบุก เรียกว่า จารึกบนแผ่นดีบุก และการจารึกบนใบลาน
                นอกจากนี้ยังมีการจารึกไว้บนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุต่างๆ โดยเรียกไปตามลักษณะของจารึกปูชนียวัตถุสถานนั้นๆ เช่น จารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยลพบุรี

จารึกบนฐานพระพุทธรูป วัดป่าข่อย จังหวัดลพบุรี
ที่มาภาพ : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927046/mon4_5_clip_image001_0000.jpg

เรื่องราวที่จารึกไว้บนวัสดุต่างๆ ที่พบในดินแดนประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และศาสนา จารึกเหล่านี้มีทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามอญ       ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต จารึกที่ค้นพบในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก เช่น จารึกสมัย ทวารวดี จารึกศรีวิชัย จารึกหริภุญชัย 
 และจารึกสุโขทัย



ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง
ที่มาภาพ
 http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nongkhai/thanagorn_n/plan_history/image/pic1130704120859.jpg
                                2.2 เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ดังมีรายละเอียด ดังนี้
1) ตำนาน เป็นเรื่องที่เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีการเล่าเรื่องสืบต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร และมีการบันทึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาจึงมีการคัดลอกตำนานเหล่านั้นเป็นทอดๆไปหลายครั้ง  ทำให้เกิดมีข้อความคลาดเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ดังนั้น   เนื้อเรื่องของตำนาน ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองหรือชุมชนสมัยดั้งเดิมเกี่ยวกับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ หรือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ วีรบุรุษ โดยสามารถจัดประเภทของตำนานไทยได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1) ตำนานในรูปของนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องพญากง พญาพาน ท้าวแสนปม
1.2) ตำนานในรูปของการบันทึกประวัติของพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายเพื่อรักษาศรัทธา ความเชื่อ สัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เช่น ตำนานพระแก้วมรกต
1.3) ตำนานในรูปของการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ราชวงศ์ กษัตริย์ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์ในอดีต เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมาร
ตำนานจามเทวีวงศ์  ตำนานมูลศาสนา ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์
                                       2) พงศาวดาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ความหมายของพงศาวดารว่าหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งสืบสันติวงศ์ลงมาถึงเวลาที่เขียนนั้น แต่ต่อมามีการกำหนดความหมายของพงศาวดารให้กว้างออกไปอีกว่าหมายถึง การบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอาณาจักรและกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักร   พงศาวดารจึงมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4)
สามารถจำแนกพงศาวดารได้ 2 ลักษณะคือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ   พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษธิบดี (ขำ บุนนาค)


              พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์       พงศาวดารสกลรัชกาลที่ 2                       
                 
ที่มาภาพ : http://kanchanapisek.or.th/kp8/          ที่มาภาพ : http://j.static.fsanook.com/category/2008/
                                                  
  3) จดหมายเหตุ หมายถึง การจดบันทึกข่าวคราวหรือเหตุการณ์เรื่องหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีนั้นๆ จดหมายเหตุหรือบรรณสาร การบันทึกจดหมายเหตุของไทยในสมัยโบราณ   โดยมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามลงก่อนจึงจะจดเหตุการณ์ที่เห็นว่าสำคัญลงไว้
     โดยมากจะจดในวัน เวลา ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือในวัน เวลา ที่ใกล้เคียงกันกับที่ผู้จดบันทึกได้พบเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้ เอกสารประเภทนี้จึงมักมีความถูกต้องในเรื่องวัน เดือน ปี มากกว่าหนังสืออื่นๆ เช่น จดหมายเหตุของหลวง เป็นจดหมายเหตุที่ทางฝ่ายบ้านเมืองได้บันทึกไว้เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบ้านเมือง จดหมายเหตุโหร เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโหรซึ่งเป็นผู้ที่รู้หนังสือและฤกษ์ยามจดไว้ตลอดทั้งปี และมีที่ว่างไว้สำหรับใช้จดหมายเหตุต่างๆ ลงในปฏิทินนั้น เหตุการณ์ที่โหรจดไว้ โดยมากเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับดวงดาว

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit01_03.html